วัดโพธิ์บางคล้า
เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งในฉะเชิงเทราที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
และเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวกำเนิดของวัดบางคล้าย้อนหลังกลับไปจนถึงสมัยอยธยาตอนปลาย เมื่อกรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือพระยากำแพงเพชรในสมัยนั้นทรงนำพลตีฝ่าข้าศึกมุ่งไปทางจันทบุรีเมื่อข้ามคลองท่าลาด
มาถึงบริเวณปากน้ำเจ้าโล้ อำเภอบางคล้า แห่งนี้ ก็ทรงหยุดพักใต้ต้นโพธิ์แห่งหนึ่ง ซึ่งภายหลังจากการกอบกู้เอกราชได้สำเร็จแล้วทรง
ให้สร้างวัดขึ้นที่บริเวณนี้แล้ว ให้ชื่อว่า “วัดโพธิ์”
วัดโสธรวรารามวรวิหาร
วัดนี้แต่เดิมเป็นวัดราษฏร์
สร้างขึ้นตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัตินั้น แต่แรกมีชื่อว่า “วัดหงษ์” เพราะมี
“เสาหงษ์” อยู่ในวัด เป็นเสาสูงมียอดเป็นตัวหงษ์อยู่บนปลายเสา
ต่อมาหงษ์บนยอดเสาหักตกลงมาเหลือแต่เสา และมีผู้เอาธงขึ้นไปแขวนแทน จึงได้ชื่อว่า
“วัดเสาธง” ครั้นเมื่อเสาธงหักเป็นสองท่อน จึงเรียกชื่อใหม่ว่า “วัดเสาธงทอน” ส่วนชื่อ
“วัดโสธร” อันมีความหมายว่า “บริสุทธ์” และ “ศักดิ์สิทธิ์” นั้น เรียกตามพระนามของพระพุทธโสธรหรือหลวงพ่อโสธรซึ่ง
ได้มาประดิษฐานในวัดนี้
ในภายหลัง วัดโสธรได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลออดุลยเดชยกขึ้น
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารมีนามว่า
“วัดโสธรวรารามวรวิหาร” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2501
กำแพงเมืองเก่า
เป็นของคู่บ้านคู่เมือง
ซึ่งจารึกร่องรอยสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายยุคสมัย ทั้งร่องรอยแห่งชัยชนะในการศึกสงครามและเหตุการณ์นองเลือด
อันเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ๋ของเมืองฉะเชิงเทรา ความเป็นมาของกำแพงเมืองย้อนกลับไปถึงต้นกรุงรัคนโกสินทร์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะนั้นไทยกำลังขับเคี่ยวทำสงครามกับญวนเพื่อรักษาอำนาจ
ในการปกครองเมืองเขมร ไทยและญวนได้สู้รบกันยืดเยื้อยาวนานถึง ๑๔ ปี ( พ.ศ. ๒๓๗๖-๒๓๘๐ ) จนอาจกล่าวได้ว่า
“สงคราม อานามสยามยุทธ” ในครั้งนั้นเป็นการศึกกับต่างชาติที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย
ด้วยลำน้ำบางประกงเป็นแม่น้ำสายหลักและเป็นชัยภูมิธรรมชาติอย่างดีในการป้องกันข้าศึกศัตรู
ในปีมะเมือ พ.ศ. ๒๓๗๗พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้าฯ
ให้กรมหลวงรักษ์รณเรสน์เป็นแม่กองสร้างกำแพงพร้อมป้อมปราการรักษาปากน้ำแห่งนี้
เพื่อให้เมืองฉะเชิงเทราเป็นเมืองเขื่อนขัณฑ์ กันพระนครทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ปลอดภัยจากข้าศึก
ศาลหลักเมืองและเสาหลักเมือง
ในกำแพงเมืองเก่า เป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมืองและเสาหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นของ คู่บ้านคู่เมืองที่ช่วยคุ้มครองปกปักรักษาเมืองแปดริ้วให้พ้นจากภยันอันตรายทั้งปวงมาแต่อดีตกาลเสาหลักเมืองนั้นมีมาตั้งแต่สร้าง
เมืองแปดริ้ว ล่วงมาถึงรัชสัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสาหลักเมือง
ชำรุดผุขาดไปมาก จึงได้สร้างเสาขึ้นใหม่ด้วยไม้มะค่า และจัดให้มีการบำเพ็ญกุศลและสมโภชในการยกเสาในวันที่ 16 กรกฏาคม พ.ศ2438 บริเวณศาลหลักเมืองเคยมีปืนใหญ่กองรวมกันอยู่ ภายหลังกรมศิลปากรได้นำมาวางบนกำแพงเมืองประมาณ 5 กระบอก ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์หรือวัดเมือง
เป็นโบราณสถานสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่สร้างขึ้นเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ของฉะเชิงเทราในปี
พ.ศ. 2377 เมื่อมีการสร้างกำแพงเมืองเพื่อกำหนดขอบเขตของแปดริ้วและให้เมืองนี้เป็นปราการรักษาพระนครและ
ชาวบ้านชาวเมืองให้ปลอดภัยจากข้าศึกศรัตรูนั้น
ศรัทธาในพุทธศาสนาได้มำให้มีการสร้างวัดขึ้นด้วย เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองและที่พึ่งทางใจในยามศึกสงคราม
เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่ในเมืองชาวบ้านจึงเรียก กันทั่วไปว่า “วัดเมือง” ต่อมาภายหลัง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา ในปี
พ.ศ. 2451 จึงได้พระราชนามวัดว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์” ซึ่งมีความหมายว่า
“วัด ที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง” วัดนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคนั้น
เพราะนอกจาก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา กว้าง
17 เมตร ยาว 29.50 เมตรแล้ว สังเกตจากศิลปะที่องค์พระปรางค์ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับพระปรางค์อัฐเคราะห์
ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพมหานครมาก
จึงน่าเชื่อว่าคงจะได้ช่างฝีมือจากเมืองหลวง
วัดพยัคอินทาราม (วัดเจดีย์)
เป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของแปดริ้ว มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่
4 ตารางวา ประกอบด้วยวิหารพระพุทธบาทเจดีย์ใหญ่ 1 องค์ และเจดีย์เล็กอีก 2
องค์ ความสำคัญของวัดนี้คือ เป็นที่ค้นพบแผ่นเงินจารึกข้อความ
อันเป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแผ่นเงินที่พบทำด้วยเนื้อเงินบริสุทธิ์
นำหนัก 3 บาท 2 สลึง หรือประมาณ 53 กรัมหย่อน รูปร่างเกือบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
คือกว้างด้านหนึ่ง8 เซนติเมตร อีกด้านหนึ่ง 7.5 เซนติเมตร และยาว 27.5 เซนติเมตร
มีข้อความจารึกถึงประวัติของ “นายช้าง”และ “นายเสือ” สองพี่น้องซึ่งมีต้นตระกูลเก่าแก่
ยาวนานมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรือง
และมีชีวิตอยู่ทันได้เห็นเหตุการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนแปลงของแปดริ้วในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์
วัดพยัคฆาอินทาราม (วัดเจดีย์) จึงเป็นโบราณสถานอันเปรียบเสมือนกระจกส่องสมัยอันทรงคุณค่ายิ่ง
เพระาเป็นที่ค้นพบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่าบันทึกภาพอดีตของแปดริ้วไว้อย่างชัดเจน
ศาลากลางจังหวัดเก่าหรือศาลารัฐบาลมณฑลเมืองปราจีน
เป็นบันทึกของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ และเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อรักษาเอกราชของ
ไทยในยุคจักรวรรดินิยมจนมีผู้ขนานนามว่าเป็น
“อนุเสาวรีย์แห่งเสรีภาพ” ของฉะเชิงเทราสงครามเย็นจากยุคล่าอาณานิคมซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ได้ระอุถึงขีดสุดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยจึงเร่งปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัย
“มณฑลปราจีน” จึงถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2435 ตามระบบเทศาภิบาล ซึ่งเป็นการปกครองแบบใหม่
จากการรวมตัวของเมืองฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายกและพนมสารคาม เมื่อมลฑณปราจีนขยาย
เขตการปกครองออกไปและเมืองฉะเชิงเทราได้เป็นศูนย์อำนาจรัฐ
และเป็นที่ว่าการมณฑล จึงได้ก่อสร้างศาลารัฐบาลมณฑลปราจีนขึ้นเป็นที่ทำการในปี
พ.ศ. 2449 ศาลารัฐบาลแห่งนี้มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองฉะเชิงเทราอย่างสม่ำเสมอ
แม้เมื่อไทยยกเลิกระบบเทศาภิบาล ศาลารัฐบาลแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดและสุดท้ายในปี
พ.ศ. 2506 ได้เป็นที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
จนถึงปี พ.ศ. 2518 เมือ่ เทศบาลฯ ได้ย้ายไปใช้ที่ทำการใหม่ จึงได้ให้เอกชนเข้ามาเช่าช่วงที่ดินแห่งนี้
วัดจีนประชาสโมสร
นอกจากจะมีคุณค่าทางศิลปกรรมอันงดงามแล้ว ยังเป็นประจักษ์พยานของความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวจีน
และชาวไทยมาตั้งแต่ครั้งประวัติศาสตร์วัดแห่งนี้เดิมชื่อว่า
“วัดเล่งฮกยี่” เป็นวัดเนื่องในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ผู้สร้างคือหลวงจีนชกเฮ็ง
ซึ่งเป็นศิษย์ของวัดมังกรกมลา วาสหรือวัดเล่งเน่ยยี่ในกรุงเทพมหานคร รูปแบบสถาปัตยกรรมในการก่อสร้างจึงคล้ายคลึงกันชื่อ
“วัดเล่งฮกยี่” ได้เปลี่ยนเป็น “วัดจีนประชาสโมสร” เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนเมืองแปดริ้ว
แผ่นป้ายชื่อพระราชทานยังประดับเด่นเป็นสง่าในวัดจนกระทั่งทุกวันนี้ที่ทางเข้าอุโบสถของวัดคือท้าวจตุโลกบาล
ทำเป็นรูปนายทหารและเทวรูปจีนขนาดใหญ่ยืนรักษาปากประตูอย่างสง่างาม
ส่วนภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปแบบจีนลัทธิมหายานอีก 3 องค์ คือ พระยู่ไล้ พระโอนิโทฮุด
และพระเอี้ยซือฮุด ซึ่งเชื่อว่าสามารถบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ที่แปลกน่าทึ่งทั้ง
3 องค์ล้วนสร้างขึ้นจากกระดาษนำมาจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน พร้อม ๆ กับรูป
18 อรหันต์ ที่ประดิษฐานอยู่ด้านข้างพระอุโบสถ
ส่วนบริเวณด้านหลังของวัดเป็นที่ตั้งของสถานสงเคราะห์คนชรา ซึ่งมีคนชราชาวจีนที่ยากจนมาอาศัยอยู่หลายสิบคนขณะนี้วัดจีนประชาสโมสรกำลังดำเนินการก่อสร้างเจดีย์เจ็ดยอด
และรูปปั้นพระโพธิสัตว์อาโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมพันมืออันเป็นวัตถุมงคลเพื่อร่วมเฉลิมฉลอง
ในวาระอันเป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
ตำหนักกรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์
ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ไม่แพ้ศาลากลางจังหวัดหลังเก่าหรือศาลากลาง
รัฐบาลมณฑลปราจีนเมื่อไทยใช้นโยบายการเมืองนำหน้าการทหาร
และเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากจตุสดมภ์มาเป็นระบบเทศาภิบาล ฉะเชิงเทรา
ได้เป็นที่ตั้งของที่ว่าการมณฑลปราจีนและกรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์
สมุหเทศาภิบาลผู้ทรงพระปรีชาชาญในวิชาการปกครอง
ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองในช่วงเวลานั้นการวางแผนก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง
ๆ ในมณฑลปราจีนนั้น แท้จริงก็คือการเริ่มต้นวางผังเมืองฉะเชิงเทรานั่นเอง ตำหนักกรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์
ซึ่งเป็นเรือนไม้สองชั้นสร้างขึ้นเป็นที่พำนักของสมุหเทศาภิบาลในยุคนั้น จึงอาจถือได้ว่าเป็นก้าวแรก
ๆ ของการก่อสร้าง “บ้านพักข้าราชการ” ของแปดริ้วความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งึ่งเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งของชาวเมืองคือ
ตำหนักแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับพักแรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในคราวที่เสด็จประพาสฉะเชิงเทราถึง 2 ครั้ง พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่าน
ซึ่งได้พระราชทานไว้ตั้งแต่เสด็จประทับครั้งแรกพร้อมลายพระหัตถ์มีความว่า “ให้ไว้สำหรับเรือนเทศาภิบาลมณฑลปราจีน
(เมืองฉะเชิงเทรา) เป็นที่ระลึกในการที่ได้มาอยู่ในที่นี้ ได้ความศุขสบายมาก
ตั้งแต่วันที่ 24 ถึงวันที่ 29 มกราคม รศ 126” (พศ. 2450) ยังอยู่เป็นคู่ตำหนักมาจนทุกวันนี้ปัจจุบัน
ตำหนักกรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์ยังใช้เป็นที่ประทับและทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ยามที่เสด็จเยือนฉะเชิงเทรา
วัดสัมประทวนนอก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ 2479 เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่บันทึกความเป็นมาของเมืองฉะเชิงเทราอย่างมีสีสัน
ซึ่งนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีมักจะใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานอยู่เสมอวัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง
ตำนานของวัดได้เล่าขานเกี่ยวกับความเป็นมาของหลวงพ่อพุทธโสธรว่า
เมื่อพระพุทธรูปทั้งสามพี่น้องลอยน้ำลงมาจากทางเหนือมาถึงแปดริ้ว ก็ได้ผุดขึ้นและแสดงอภินิหารลอยทวนน้ำให้ชาวบ้านได้เห็น
บริเวณนี้จึงได้ชื่อว่าตำบล”สามพระทวน” ซึ่งภายหลังเพี้ยนเป็น “สัมปทวน” อันเป็นที่มาของชื่อวัด
วัดสัมปทวนนอกจากมีชื่อด้านความสวยงามของอุโบสถ ซึ่งสร้างด้วยหินอ่อนมีลวดลายและงานปูนปั้นที่ประดับอยู่โดยรอบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานปูนปั้นที่เชิงชายรอบอุโบสถซึ่งเล่าเรื่องวิถีชีวิตของชาวแปดริ้ว